Tuesday, July 6, 2010

เมื่อวานทดลองสอนภาษาอังกฤษผ่านหนังกับนักเรียนจ่าครับ

เมื่อวานนี้ได้ทดลองสอนนักเรียนจ่าผ่านหนังฝรั่งครับ และได้สังเกตพฤติกรรมต่างๆระหว่างที่เกิดขึ้นในห้องเรียน โดยรวมแล้วผมรู้สึกว่า การที่ได้มีภาพวิ่งตลอดเวลาบนโปรเจคเตอร์นั้น จะทำให้นักเรียนสนใจมากยิ่งขึ้น เหมือนเราดูทีวีครับเราสามารถนั่งดูได้ตลอดโดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดกระวนกระวายและอีกอย่างไม่น่าเบื่อ และโดยเฉพาะการเรียนผ่านสื่อนั้น นอกจากจะทำให้เด็กสนใจเรียนขึ้นแล้ว ผมรู้สึกว่าเด็กได้สัมผัสกับเสียงเจ้าของภาษาเพื่อปรับในเรื่องทักษะการฟังได้ดียิ่งขึ้น โดยขณะสอนผมจะพักเป็นตอนๆไปและแปลคำศัพท์พร้อมกับให้นักเรียนช่วยแปลเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแปลมากยิ่งขึ้น บางคำศัพท์นักเรียนสามารถแปลได้เลยโดย
ที่พวกเค้าเดาจากกริยาท่าทางในหนังหรือสถานการณ์ที่พวกเค้าสามารถเดาได้ ซึ่งผมว่าเด็กจะสามารถจำศัพท์ได้ง่ายและเข้าใจมากกว่าการแปลจากตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นตัวอักษรภาษาไทย แต่เด็กจะจำภาษาอังกฤษออกมาเป็นภาพ
ผลสรุปจะเป็นอย่างไรนั้น ผมยังไม่ทราบแน่ชัดเพราะอาจจะต้องรออีกสักสองสามเดือน เพื่อปรับอะไรนิดหน่อยให้เข้าที่เข้าทางครับ  แต่ผมเชื่อว่าทักษะทางด้านการฟังน่าจะดียิ่งขึ้น ถึงบางคำเด็กจะไม่เข้าใจแต่หูของเด็กจะเริ่มสามารถแยกแยะเสียงออกมาเป็นคำๆได้มากยิ่งขึ้นครับ และผมจะพยายามใช้ TPR ให้มากยิ่งขึ้นครับ บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่า TPR คืออะไร ผมได้ตัดข้อความบางส่วนเกี่ยวกับ TPR ในอินเตอร์เน็ต มาให้อ่านกันครับเพราะผมรู้ว่ามันมีประโยชน์อย่างมากในการเรียนการสอนครับ

เทคนิคการสอนภาษาด้วย TPR-Total Physical Response

หมายถึง หมายถึง การสอนภาษาโดยการใช้ท่าทาง โดยให้ผู้เรียนฟังคำสั่งจากครูแล้วผู้เรียนทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นการตอบรับให้ทำตามโดยผู้เรียนไม่ต้องพูด วิธีสอนภาษาโดยการใช้ท่าทางใช้สำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาที่ ๒

 
ประเภทของ TPR


๑.TPR-B (Total Physical Response-Body) เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่มีคำศัพท์ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (body movement) เช่น นั่งลง (sit down) ยืนขึ้น (stand up) เลี้ยวซ้าย (turn left) เลี้ยวขวา (turn right) เดินหน้า (go straight) ถอยหลัง (back) กระโดด (jump) ปรบมือ (clap your hand) หยุด (stop) กลับหลังหัน (turn around) ชูมือขึ้น (raise your hand) เอามือลง (put down your hand) โบกมือ(wave your hand) เป็นต้น กิจกรรมหรือเกมที่ใช้อาจใช้เกม Simon Says เช่น Simon Says touch your Norse ถ้า ไม่ได้พูดคำว่า Simon Says ไม่ต้องทำตาม


ข้อควรคำนึง



๑. กริยา/ท่าทาง ทุกอย่างที่แสดงต้องสมจริง (must be real) ไม่ใช่การสมมุติ และต้อง ถูกต้อง


๒. เวลาครูสาธิต ต้องพูดคำสั่งจบก่อนแล้วจึงทำท่าทาง (เพื่อตั้งใจฟังก่อน และป้องกันนักศึกษาทำตามครูโดยที่ไม่เข้าใจ)


๓. พูดและทำท่าทางเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาดู อย่างน้อย 3 ครั้ง

๔. ทุกหนึ่งรอบของการทำท่าทาง ควรจะให้จบกระบวนการ
๕. ทุกๆการสอน ต้องทบทวนบทเรียน/คำศัพท์ในอาทิตย์ที่แล้ว หรืออาทิตย์ที่ผ่านๆมาโดยครูอาจทำพร้อมนักศึกษา หรือ ครูสั่งแล้วให้ นักศึกษาทำพร้อมกันโดยทบทวนก่อนสอนคำชุดใหม่
๖. พูดคำที่ต้องการสอนเท่านั้น สิ่งที่ไม่ต้องการให้นักศึกษารับรู้ก็ไม่ จำเป็นต้องพูด
๗. จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับคำกริยา/คำสั่งที่ต้องการสอน




๒.TPR-O (Total Physical Response-Objects) เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่มีคำศัพท์ที่เป็นสิ่งของ (objects) เช่น สมุด (book) ปากกา (pen) ดินสอ (pencil) ยางลบ (eraser) ไม้บรรทัด (ruler) แผนที่ (map)โต๊ะ (table) เก้าอี้ (chair) ประตู (door) นาฬิกา (clock) ไฟฉาย (flash light) ดอกไม้ (flower) ใบไม้ (leaf) ก้อนหิน (rock) จาน (plate) ชาม (bowl) แก้วน้ำ (glass) ช้อน (spoon) ส้อม (fork) หวี (comb) กระจก (mirror) เป็นต้น อย่าไปติดการสอนในชั้นเรียนอาจพาผู้เรียนออกนอกห้องเรียน เพื่อเรียนรู้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ หรืออาจใช้เกม bring me (a pen, a red pencil)

วัตถุประสงค์ ต้องการให้ผู้เรียนฟังคำสั่งให้ เข้าใจและทำตามคำสั่ง โดยผู้สอนมีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้จักกลุ่มคำเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ


ข้อควรคำนึง


๑.ต้องพูดหลายครั้งจนแน่ใจว่านักศึกษาเข้าใจ
๒. ให้ระวังคำที่มีความหมายใกล้กัน
๓. หากว่าบทเรียนยากเกินไป ครูอาจแบ่งเป็น๒ บทเรียนก็ได้ เพื่อให้ เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา
๔. ถ้าหากนักศึกษาทำผิด ครูจะต้องทำให้ดู ทบทวน จนแน่ใจว่า นักศึกษาทำได้ หากนักศึกษาทำไม่ได้ ให้กำลังใจ อย่าทำให้นักศึกษา เสียหน้าหรือขาดความมั่นใจ

วิธีปฏิบัติ
๑.ครูเรียกชื่อของสิ่งของ ๓ ครั้ง และหยิบของสาธิตให้ดู
๒.ห้ตัวแทน ๒ คน ออกมาแสดง พร้อมกับครู และให้ผู้เรียนแสดงให้ดู ๓ ครั้ง การ


ทำ TPR-O อาจแทรกคำศัพท์ TPR-B ได้เพราะเรียนมาจากบททีแล้ว ผสมกันไปแต่เอาง่าย ๆ ก่อน แล้วเพิ่มความยากไปเรื่อย ๆ


๓.ให้ทุกคนทำพร้อม ๆ กัน
๔.แบ่งเป็นกลุ่มย่อย(กลุ่มละ ๓-๕ คน)และปฏิบัติตามคำสั่งของครู โดยให้ผู้เรียนแสดง
๓. TPR-P(Total Physical Response-Picture) เป็นการสอนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ การเลือก ภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนควรใช้ให้เหมาะสมกับนักศึกษา โดยยกตัวอย่างคำถามจากภาพ เมื่อครูถามแล้วให้ผู้เรียนไปชี้ภาพให้ดู ไม่มีการพูดภาพที่ครูกำหนดควรเป็นภาพตัดแปะจะได้เคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ ไปไว้ตามตำแหน่งต่างๆของภาพได้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้จักกลุ่มคำเกี่ยวกับภาพต่างๆ มี ๓ประเภท คือ๑. ภาพโปสเตอร์ แผ่นพับ รูปภาพที่มีอยู่แล้ว ๒. ภาพตัดแปะจากผ้า หรือ กระดาษ ๓. ภาพวาดลายเส้นหรือภาพสีที่ผลิตโดยครูหรือผู้เรียน หรือภูมิปัญญา ท้องถิ่น




หลักการ


๑.รูปภาพที่ใช้ต้องมีสิ่งของ/กิจกรรมต่างๆ/ผู้คนที่จะสอนผู้เรียนได้


๒.ครูจะสอนให้ผู้เรียนมาชี้ จับ แตะ สิ่งต่างๆในภาพตามที่ครูต้องการสอน
๓.การใช้ TPR-P อาจสอนอาทิตย์ละครั้งแต่ถ้านักศึกษามีความก้าวหน้าอาจใช้สอนมากกว่านี้
๔.ภาพหนึ่งอาจสอนได้หลายๆครั้ง โดยอาจสอนเสริมเมื่อผู้เรียนรู้คำศัพท์มามากแล้ว
๕.อาจใช้ TPR-B ประกอบการสอน TPR-P เช่น สอนเรื่อง ข้างหน้าข้างหลัง ข้างๆ สอนคำเหล่านี้ก่อน จึงสอนคำจากรูปภาพ
๖. ภาพควรเป็นภาพที่เหมาะสมกับบุคคลและสอดคล้องกับสภาพของนักศึกษา
๔.TPR-S (Total Physical Response-Story telling) เป็นการสอนภาษาโดยการเล่าเรื่อง โดยครูเล่าเรื่องคล้ายกับชีวิตประจำวันของนักเรียน หรือเล่านิทาน ๒-๓ ครั้ง แล้วให้ผู้เรียนมาแสดงละครจากเรื่องที่ครูเล่า หรือบางครั้งอาจเปลี่ยนเป็นอาจารย์อ่านให้ฟัง ๑-๓ ครั้ง ให้นักศึกษาเขียนขึ้นมาใหม่เหมือนครูเล่าหรือไม่ แสดงว่าผู้เรียนฟังแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ให้เริ่มจากง่าย ๆ ก่อน




เป็นการสอนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ การเลือก ภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนควรใช้ให้เหมาะสมกับนักศึกษา โดยยกตัวอย่างคำถามจากภาพ เมื่อครูถามแล้วให้ผู้เรียนไปชี้ภาพให้ดู ไม่มีการพูดภาพที่ครูกำหนดควรเป็นภาพตัดแปะจะได้เคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ ไปไว้ตามตำแหน่งต่างๆของภาพได้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน รู้จักภาพเหล่านั้นจริงๆ ไม่ใช่การท่องจำภาพเท่านั้นเป็นการสอนที่ใช้เรื่องเล่าการสอนภาษาโดยการใช้รูปภาพ TPR-P
การสอนภาษาด้วยการเล่าเรื่อง ควรใช้เมื่อผู้เรียนมีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ โดยครูเลเรื่องราวที่คล้ายคลึงกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน หรือ นิทานเรื่องง่ายๆ ครูเล่าเรื่องให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นให้ผู้เรียนออกมาแสดงเรื่อง(ตามที่ครูเล่า)โดยไม่ต้องพูด ต่อมาให้ผู้เรียนเล่าเรื่องเอง แล้วให้ผู้เรียนคนอื่นมาแสดงละครตามเรื่องที่ผู้เรียนเล่าให้ฟัง

จุดประสงค์ของ TPR-S คือ ต้องการให้ผู้เรียนฟังครูพูดให้เข้าใจและทำท่าทาง โดยผู้เรียน
ไม่ต้องพูด เพียงแต่แสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่องเท่านั้น


ทำไม TPR จึงมีประสิทธิภาพในการสอนภาษา


๑.มาจากวิธีการที่ทารกเรียนภาษา โดยเริ่มฟังคำพูดจากพ่อแม่
๒. การใช้การเคลื่อนไหวทางร่างกายร่วมกับภาษา
๓. การเรียนรู้ที่ไม่ใช้การพูดจะใช้สมองซีกขวา




ผลดีของการจัดการเรียนการสอนแบบ TP

๑. เป็นต้นแบบโดยครู ครูพูด ครูทำ ให้ผู้เรียนดูก่อน
๒. เน้นการสาธิต ครูและผู้เรียนอาสาสมัครทำพร้อมกัน
๓. ให้กำลังใจเมื่อผู้เรียนทำไม่ได้ ไม่เร่ง ต้องแน่ใจว่านักศึกษาทำได้ ครูไม่รีบเร่งแต่จะให้ผู้เรียนเข้าใจเอง
๔. ครูให้ผู้เรียนทำเมื่อแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจแล้ว
๕. มีส่วนขยาย เพิ่มวงคำศัพท์ที่เรียนมาแล้ว






2 comments:

  1. ดีมากเลยนะ ถ้าครูๆ หรือคนที่ทำหน้าที่สอนวิชา
    มาได้อ่านก็ดีนะ ได้แนวทางและก็วิธีคิด

    ขอบคุณนะ

    วันหน้าจะมาอ่านอีกอย่าลืมอัพละ

    ReplyDelete
  2. ขอขอบคุณปรมาจารย์อาทิตย์มากที่เสียสละเวลาเฝ้าห้องผู้บังคับบัญชามาสอนภาษาอังกฤษให้กับคนอ่อนอังกฤษจนทำให้สามารถสอบเลื่อนฐานะได้เป็นอย่างดีต้องขอขอบคุณด้วยความจริงใจครับ...แต๊งกิ้ว...

    ReplyDelete

Main Page